การเตรียมบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Research Paper) และเอกสารแนวคิดเบื้องต้น (Conceptual Paper)
- ผู้ส่งบทความต้องเตรียมบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือ เอกสารแนวคิดเบื้องต้น ความยาวทั้งหมดไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 (รวมหน้าปกและบทคัดย่อเรียบร้อยแล้ว) ตามรูปแบบที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนด ดังรายละเอียดในหัวข้อ 1.2
- กรณีเป็นบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Research Paper) จะต้องเป็นบทความที่เข้าความหมายถึงงานวิจัยที่มีการพัฒนาหรือทดสอบองค์ความรู้ และ/หรือ ทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในการนำไปใช้ในสาขาที่ทำงานวิจัยนั้นๆ และผลที่ได้ต้องตอบคำถามงานวิจัยที่ผู้จัดทำได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์จะต้องประกอบไปด้วย
- บทนำ (Introduction)
- ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
- วิธีการศึกษา (Methodology)
- ผลการศึกษาและอภิปราย (Results and Discussion)
- สรุปผลการศึกษา (Conclusion)
- บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ผู้ส่งบทความจะทำการจัดส่งนั้น จะต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่เขียนในตัวบทคัดย่อ จากผู้เชี่ยวชาญ สถาบันที่น่าเชื่อถือ หรือ ผ่านการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่แก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำจะถูกรวบรวมเป็น Proceeding ของการประชุม
การจัดรูปแบบบทความวิจัย
ตัวอย่าง : คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
- การจัดหน้าขนาด 8” x 10 ½” ให้ห่างจากขอบซ้ายและขอบขวา 2.5 ซม. ขอบบน 2.5 ซม. ขอบล่าง 2 ซม.
- ชื่อเรื่อง จัดให้อยู่กลางหน้ากระดาษและห่างจากขอบบน 4.5 ซม.
- บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Bold ขนาด 20 ตัวหนา
- บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Bold ขนาด 20 ตัวหนา
- ชื่อผู้เขียนบทความ
เว้น 1 ระยะบรรทัด จากชื่อเรื่องในหน้าแรก ชิดขอบขวา และมี * ต่อท้ายชื่อ-นามสกุล เฉพาะหน้าแรก (หากมีผู้เขียนมากกว่า 1 ท่าน ให้ใช้ ** และ *** ในท่านที่ 2 และ 3 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ให้ระบุชื่อผู้เขียนหลักและ Email address ที่เปิดใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นช่องทางให้กับทางคณะกรรมการดำเนินการประชุมติดต่อกลับได้
- ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Bold ขนาด 16 Point ตัวหนา
- ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Bold ขนาด 16 Point ตัวหนา
- บทคัดย่อ ABSTRACT (บทคัดย่อและคำสำคัญต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 1/2 หน้า แต่ไม่เกิน ¾ หน้า)
โดยห่างจากชื่อผู้เขียน 1 ระยะบรรทัด ส่วนเนื้อหา (19P) รายละเอียดให้ห่างจากคำบทคัดย่อ 1 ระยะบรรทัด (20P)
- ภาษาไทยใช้ Font : Angsana New ขนาด 15 Point
- ภาษาอังกฤษใช้ Font : Angsana New ขนาด 15 Point
- หัวข้อบทความ จัดให้อยู่ชิดซ้าย
- ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Bold ขนาด 18 Point ตัวหนา
- ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Bold ขนาด 18 Point ตัวหนา
- บรรทัดเนื้อหารายละเอียด บรรทัดแรกให้ห่างจากหัวข้อ 1 บรรทัดพิมพ์ แต่การพิมพ์เนื้อหาทั่วไป
ย่อหน้าของบทความ เคาะวรรค 5 ตัวอักษร
- บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New ขนาด 15 Point ตัวปกติ
- สำหรับบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New ขนาด 15 Point ตัวปกติ
- ตารางหรือกราฟ
- ถ้ามีตารางหรือกราฟ ให้พิมพ์คำว่า Table 1 หรือ Figure 1 ด้วยตัวพิมพ์หนา เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ชื่อตาราง
- ส่วนชื่อให้พิมพ์ด้วยตัวปกติขนาด 16 Point
- ส่วนรายละเอียดของตารางและรูปดูตามความเหมาะสม โดยถ้ามีหมายเหตุและแหล่งที่มาให้พิมพ์ที่ท้ายตาราง
- Footnote พิมพ์ต่อท้าย Paper
- ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_Regular ขนาด 12 Point ตัวปกติ
- สำหรับบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : Angsana New_ Regular ขนาด 12 Point ตัวปกติ
- บรรณานุกรม
ใช้ Font : Angsana New_Bold ขนาด 18 Point ตัวหนา ชิดซ้ายอยู่หน้าสุดท้ายของบทความ โดยชื่อเรียงลำดับอักษรภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ บรรทัดแรกชิดซ้าย บรรทัดต่อไป TAB 0.5 ซม. เนื้อหารายละเอียด ใช้ Font : Angsana New ขนาด 15 Point ตัวปกติ