- แผนงาน โครงการสนับสนุนด้านการวิจัย
- ผลผลิต ผลงานวิจัยระดับชาติ
- ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) ประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 9
- ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) The 9th Annual National Conference on Business and Accounting (NCBA)
- ลักษณะโครงการ โครงการจัดปีละ 1 ครั้ง
- หน่วยงานรับผิดชอบหลัก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ผู้รับผิดชอบหลักโครงการ คณะกรรมการดำเนินการประชุมทางวิชาการฯ
- หมายเลขโทรศัพท์ 02 697 6880
- Email Address [email protected]
1. ความสำคัญและที่มาของโครงการ
ด้วยความสำเร็จจากการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชีในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้การตอบรับจากนักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทำการศึกษาวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีเข้ามานำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดด้านต่างๆ ด้วยเหตุนี้ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมกันจัดการนำเสนอผลงานวิจัย (สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี) ภายใต้ชื่อ “การประชุมวิชาการระดับชาติสาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 9” ในวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อมกับการนจัดงานเสวนาในหัวข้อ/ประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจ
2.วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ คุณค่าของการทำงานวิจัย
2.2 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษา โดยมีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษาสนใจเข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิจัย
3. กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตของโครงการ
3.1 กลุ่มเป้าหมาย
3.1.1 คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ในแวดวงสาขาบริหารธุรกิจและ/หรือการบัญชี
3.1.2 ผู้สนใจทั่วไป
3.2 ขอบเขตของโครงการ
3.2.1 ขั้นตอนการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี
4. ระยะเวลาดำเนินงานและสถานที่จัดงาน
ขั้นเตรียมงาน: เดือนมกราคม 2564 - เดือนพฤษภาคม 2564
วันจัดการประชุม: วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2564
สถานที่จัดงาน: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (รูปแบบ e-Conference)
5. วิธีการดำเนินการ
5.1 การจัดกิจกรรมเสวนา
5.2 นำเสนอผลงานวิจัย
5.3 การสร้างเครือข่ายหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านงานวิจัย
6. ประโยชน์ ผลสำเร็จ และความคุ้มค่าของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 เกิดความรู้ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือเป็นแนวทางในการทำวิจัยหัวข้อใหม่ในอนาคต
6.2 มีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การวิจัย และการให้บริการทางวิชาการด้านการบริหารธุรกิจและการบัญชี
7. หน่วยงานเจ้าภาพ และคณะกรรมการประเมินคุณค่าผลงานวิชาการ
7.1 หน่วยงานเจ้าภาพ
7.1.1 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
7.1.2 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7.1.3 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.2 คณะกรรมการประเมินคุณค่าผลงานวิชาการ
คณะกรรมการประเมินคุณค่าผลงานวิชาการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเจ้าภาพตามจำนวนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด และทำการประเมินบทความด้วยระบบการประเมินแบบสองทาง (Double-Blind review)
8. ค่าธรรมเนียมการสมัครเข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิชาการ
ค่าธรรมเนียมของการสมัครเข้าร่วมการประชุมวิชาการจะรวมถึง กระเป๋า+เอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวสามารถแบ่งได้ดังนี้
8.1 ผู้นำเสนอผลงานวิจัย
8.1.1 นิสิต นักศึกษา 1,200 บาท
8.1.2 คณาจารย์ นักวิจัย และบุคคลอื่น 1,500 บาท
8.2 ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ 1,000 บาท
9. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
9.1 เชิงปริมาณ จะวัดจากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80 บทความ ขึ้นไปของจำนวนที่กำหนดไว้ 100 คน
9.2 เชิงคุณภาพ จะวัดจากความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ คะแนนไม่น้อยกว่า 4.00